เนคเทคนำ TPMAP และ Agri-Map ออกนิทรรศการ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สู่แนวทางปฏิบัติ”

Facebook
Twitter
20190131tpmap-agrimap

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมแสดงนิทรรศการ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สู่แนวทางปฏิบัติ” ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีคณะผู้บริหารร่วมให้การต้อนรับ ประกอบด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อลิสา คงทน รองผู้อำนวยการเนคเทค ดร.นพดล คีรีเพ็ชร หัวหน้าทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ ดร.อานนท์ แปลงประสพโชค นักวิจัยทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ และคณะ

20190131tpmap-agrimap

โอกาสนี้ ดร.มารุต บูรณรัช ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARU) ได้ร่วมเป็นผู้แทนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำเสนอข้อมูลและมอบสมุดปกขาวการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สู่แนวทางการปฏิบัติ ในด้าน Big Data ร่วมกับ ตัวแทนจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มประชารัฐรักสามัคคี กลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชน ที่นำเสนอในด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชน ด้านเกษตรกรรมและเกษตรกรรมสมัยใหม่ ด้านวิสาหกิจชุมชน และด้านการบริหารจัดการขยะชุมชน

20190131tpmap-agrimap

พร้อมกันนี้ ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ และทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ ของเนคเทค ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน การใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และ BIG DATA ของประเทศ ได้แก่ ระบบ TPMAP และ Agri-Map ในงานดังกล่าวด้วย

20190131tpmap-agrimap

บทความที่เกี่ยวข้อง

TPMAP หรือ Thai People Map and Analytics Platform คือระบบ Big Data ของภาครัฐที่สามารถระบุได้ว่าคนจนนั้นอยู่ที่ไหน มีปัญหาในมิติอะไรบ้าง เช่น การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ การเข้าถึงบริการรัฐ การเงิน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้สามารถออกนโยบายแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ระบบที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลเชิงสารสนเทศด้านการเกษตร เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถเลือกปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนให้เหมาะสมตามชั้นความเหมาะสมของดิน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลพร้อมติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุมการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการ การเพาะปลูก ผลผลิตด้านการเกษตร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคต สามารถใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน

วันที่เผยแพร่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 10:31