พิธีมอบ BodiiRay เพื่อบุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้ในช่วงสถานการณ์ระบาดของ COVID-19

Facebook
Twitter

BodiiRay

(8 มีนาคม 2564) สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ : คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คุณนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจ TCP มอบเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก หรือ บอดีเรย์ เอส (BodiiRay S) และชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล หรือ บอดีเรย์ อาร์ (BodiiRay R) ให้กับ

  1. นายแพทย์ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก และ นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  2. นายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  3. นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จังหวัดสมุทรสาคร

เพื่อนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อและลดการแพร่กระจายเชื้อนั้น โดยเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอกและชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้พัฒนาและวิจัยเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) และชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล (Digital Radiography) เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติ เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอด โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ โดยมีแขกผู้เกียรติร่วมในพิธี อาทิ นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ รับมอบ

Bodiiray

 

BodiiRay

 

BodiiRay

 

BodiiRay

 

BodiiRay

 

BodiiRay

 

เกี่ยวกับ BodiiRay บอดีเรย์ (BodiiRay)

คือ เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสองมิติ ที่วิจัยพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

BodiiRay

 

บอดีเรย์ เอส (BodiiRay S)
 
เป็นเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก ส่วนฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย สแตนด์ (Stand) หรือ เสาที่วางอุปกรณ์ 2 ต้น สำหรับติดตั้งหลอดรังสีเอกซ์ และฉากรับรังสี ส่วนซอฟต์แวร์ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพ, ซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการถ่ายรังสี, และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์ซึ่งชื่อว่า ซอฟต์แวร์เรดีวิว (RadiiView Software) มีจุดเด่นคือ ใช้งานง่าย เช่น สแตนด์ที่ติดตั้งหลอดรังสีและฉากรับรังสี จะเลื่อนขึ้นลงพร้อมกันตามความสูงของผู้ป่วย จึงง่ายต่อการจัดท่าผู้ป่วย และซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย ปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้, สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที, ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม, และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ PACS หรือ ระบบจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ได้ เครื่อง บอดีเรย์ เอส นี้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ คือ ความปลอดภัยทางรังสี, ความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, และมาตรฐานระบบการบริหารจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 แล้ว ได้นำไปติดตั้งแล้วที่โรงพยาบาลจำนวน 4 แห่ง และมีการใช้งานไปแล้วมากกว่า 6,000 ครั้ง
 
BodiiRay

 

บอดีเรย์ อาร์ (BodiiRay R)
 
เป็นชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล ซึ่งออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะเปลี่ยนเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนกำเนิดรังสีจากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ส่วนฮาร์ดแวร์ คือ ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย, เครื่องคอมพิวเตอร์, และจอแสดงผลภาพ และส่วนซอฟต์แวร์ ได้แก่ ส่วนบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์, ส่วนบันทึกการตั้งค่าการถ่ายรังสี, ส่วนประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) มีจุดเด่น คือ ใช้ปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล, สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาลได้หลายรูปแบบ, ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย ปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้, แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที, ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม, และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ PACS คือจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ ได้ถูกนำไปติดตั้งแล้วที่โรงพยาบาลจำนวน 2 แห่ง และมีการใช้งานไปแล้วมากกว่า 15,000 ครั้ง
 
เกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจ TCP
 
กลุ่มธุรกิจ TCP ประกอบด้วยบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าของกลุ่มธุรกิจ บริษัท ที.จี. เวนดิ้ง แอนด์ โชว์เคส อินดัสทรีส์ จำกัด เป็นเจ้าของและบริหารจัดการตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและแบรนด์อื่นๆ บริษัท เดอเบล จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและแบรนด์อื่นๆ และบริษัท ไฮ-เกียร์ จำกัด เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้วยทีมงานมืออาชีพ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ TCP มีพนักงานกว่า 5,000 คน ในประเทศไทยและทั่วโลก
 
ผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของ กลุ่มธุรกิจ TCP ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลก ประกอบด้วย 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์รวม 9 แบรนด์ คือ กลุ่มเครื่องดื่มให้พลังงาน คือ กระทิงแดง เรดดี้ โสมพลัส และวอริเออร์ กลุ่มเครื่องดื่มสปอร์ตดริ้งค์ คือ สปอนเซอร์ กลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัล ดริ้งก์ คือ แมนซั่ม แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์ ไฮ่! กลุ่มเครื่องดื่มชาพร้อมดื่ม คือ เพียวริคุ ผลิตภัณฑ์เมล็ดทานตะวัน คือ ซันสแนค และกลุ่มหัวเชื้อเครื่องดื่ม คือ เรดบูลรสดั้งเดิม
 

บทความที่เกี่ยวข้อง