เนคเทค หารือ CEA แสวงหาแนวร่วม นำเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

Facebook
Twitter

เนคเทค หารือ สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งแสวงหาแนวร่วม นำเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ตอบโจทย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย

25 มกราคม 2567 ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมทีมนักวิจัย และฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ฯ ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด แนวทางร่วมสร้างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการ ตามความถนัดของแต่หน่วยงาน มาช่วย ภาคชุมชน ผู้ประกอบการ และ ภาคการศึกษา ช่วยเสริมเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ

โดย คุณวัชชิรา บูรณสิงห์ ผู้ช่วยนักวิจัย นำเสนอผลงาน นวนุรักษ์: แพลตฟอร์ม ระบบบริหารจัดการ “คลังข้อมูลวัฒนธรรม” และ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” โดยใช้เครื่องมือในแพลตฟอร์ม มาช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถนำเข้าข้อมูลสู่ระบบ และสามารถนำข้อมูลจากระบบ ด้านวัฒนธรรมมาช่วยสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตของชุมชน ช่วยบริหารจัดการข้อมูลท้องถิ่น อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้ในเกิดประโยชน์ในการสร้างสื่อ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวด้านวัฒนธรรมให้ยังคงสามารถดำเนินอยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างสร้างสรรค์

ดร. ละออ โควาวิสารัช นำเสนอ Museum Pool: ระบบจัดการข้อมูลพิพิธภัณฑ์แบบเครือข่าย สามารถสร้างสื่อนำชมพิพิธภัณฑ์ โดยการออกแบบข้อมูลโครงสร้าง และระบบนำชมในพิพิธภัณฑ์ มีการนำไปใช้งานพิพิธภัณฑ์หลายๆแห่ง ในประเทศ

ดร.ชัยอนันต์ ดำรงรัตน์ และ ดร.อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ นำเสนอและนำชมผลงาน Sontana: Service Robot และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เชิงสนทนาพร้อมอวทาร์ (Conversational Avatar AI) โดย ทีมวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ และกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ข้อมูลการจัดกิจกรรม นิทรรศการ และข้อมูลขององค์กร

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) นำเสนอภาพรวมและแผนการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมทั้งตัวอย่างการนำเอาผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเชิงสร้างสรรค์ อาทิเช่น “Lunch and Learn” และเกม “Match and Meal ถาดหลุมสุ่มเมนู” ที่ประยุกต์จากผลงาน Thai School Lunch ของเนคเทค เป็นต้น จากนั้นทั้งสองฝ่ายร่วมแลกแลกเปลี่ยนแนวคิดการต่อยอดเทคโนโลยีที่สำคัญ ที่จะช่วยนำมาใช้ร่วมกัน บนพื้นฐานการสั่งสม การใช้การสร้างสรรค์ องค์ความรู้ในรูปแบบดิจิทัล และนำนวัตกรรมเนคเทค มีอยู่ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยขยายความสามารถในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5 กลุ่ม 15 สาขา ตามเป้าหมายของประเทศ (https://www.cea.or.th/th/about) ต่อไป