เนคเทค สวทช. ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมหอมนุษยธรรม (Humanized Hall) แหล่งเรียนรู้ธุรกิจคู่คุณธรรม พร้อมรับฟังผลการใช้งาน “IDA Platform” ณ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด

Facebook
Twitter

คณะผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากร เนคเทค สวทช. นำโดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค และ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ในฐานะหัวหน้าโครงการ IDA Platform เดินทางไปรับฟังผลการใช้งาน IDA Platform เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 ณ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมี คุณสายชล ศีติสาร กรรมการบริษัท พร้อมด้วยคณะให้การต้อนรับ และแนะนำการดำเนินงานบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด นำชมพื้นที่ในไลน์การผลิตที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย กระบวนการผลิต NTD (ติดตั้ง IDA Platform) กระบวนการผลิต TW3 และเยี่ยมชมหอมนุษยธรรม (Humanized Hall) แหล่งเรียนรู้ธุรกิจคู่คุณธรรม ภายใต้แนวคิด ที่บ่งบอกถึง จิตวิญญาณที่สืบทอดจากผู้ก่อตั้ง สู่พนักงานชาวไลอ้อน เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค ชุมชน และสังคม พร้อมทั้งร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนมุมมองการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิต

คุณทินกร หมอยา MIS Supervisor สรุปสถานภาพปัจจุบันของ IDA Platform บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) ได้ทำการติดตั้งระบบ IDA Platform โดยใช้อุปกรณ์ IOTs เช่น Sensor และ SCADA เชื่อมต่ออุปกรณ์ URCONNECT ส่งข้อมูลด้านพลังงาน (Utility, Energy) และการผลิตของโรงงาน (NTD Production Process) ขึ้น Cloud Nexpie ซึ่งมีตัวประมวลผลเพื่อแสดงบน Dashboard โดยใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับตรวจสอบติดตาม (Monitoring) ประสิทธิภาพด้านพลังงานและการผลิตของโรงงานได้ทั้งดูย้อนหลังและแบบ Real-time

นอกจากนี้ ไลอ้อน มีความต้องการเพิ่มเติมที่อยากให้ทีม IDA เข้ามาช่วยสนับสนุนในเรื่องปรับมาตรฐานความปลอดภัยของ Dashboard กระจายการใช้งานภายในองค์กรไปยังพนักงานบางส่วน เช่น ผู้ดูแลเครื่องจักรหัวหน้าการผลิต ต้องการ Interface Dashboard บางส่วน กับ Software ในโรงงาน และสามารถแจ้งเตือนได้เมื่อค่าพารามิเตอร์เกิดความผิดปกติ รวมถึงสนใจโครงการระยะต่อไปในด้านการวัดประสิทธิภาพระดับเครื่องจักร (OEE) และ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (PdM) อีกด้วย

ไลอ้อน ให้ความเห็นว่าระบบ IDA Platform ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 และเพิ่มขีดความสามารถด้านบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีและการประยุกต์ต่อยอดเพื่อขยายการใช้งานไปยังพื้นที่อื่น ๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงงาน โดยมีเป้าหมายในลดต้นทุนการผลิต/การใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับองค์กรในระยะยาวอย่างแท้จริง

คุณธเนศ อิงสกุลรุ่งเรือง รองผู้จัดการส่วนบริการลูกค้าก๊าซ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะ System Integrator : SI กล่าวเสริมว่า สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ Factory 4.0 ในขณะนี้ PTT มีแผนจะสร้างแพลตฟอร์มสำหรับวัดปริมาณก๊าซแบบรายวันให้กับลูกค้า Energy Management (ปลายปีนี้) จะเห็นปริมาณการใช้ก๊าซในแต่ละวัน และสามารถต่อยอดไปยังการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ ซึ่งในส่วนนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายโดยมองไปถึง ecosystem สามารถยิง API ให้ลูกค้านำไปใช้แพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วได้ ในส่วน Air compressor, Chiller แชร์ข้อมูลในส่วนนี้นำมาจัดการด้านพลังงานหรือการออกแบบดีไซน์ Dashboard หรืองานสอบคุณภาพสินค้าด้วย OCR สามารถพัฒนาร่วมกับ PTT ได้ โดยโครงการฯ จัดให้มี SI พร้อมด้วยทีมวิจัยจากเนคเทค และที่ปรึกษาด้านพลังงาน ร่วมให้คำปรึกษา วิเคราะห์ และ ออกแบบระบบร่วมกัน กับทีมของ ไลอ้อน ตลอดระยะเวลาโครงการ
คุณศรัณย์ ศรีพิพัฒน์ ที่ปรึกษาด้านพลังงานฯ ได้แลกเปลี่ยนกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อมูลจาก IDA Platform ทำให้ทราบข้อมูลของการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานเพื่อทำการวิเคราะห์ เชื่อมโยงหรืออ่านค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในส่วนนี้และช่วยให้โรงงานวิเคราะห์และวางแผนการจัดการพลังงาน รวมถึงทำให้ทราบสถานะของอุปกรณ์แล้วยังช่วยให้เกิดข้อสังเกตเกี่ยวกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างตรงจุด หรือ แก้ปัญหาการจัดการในโรงงานต่อไป
ในช่วงท้าย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค ยังได้นำเสนอบริการและสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ตั้งแต่การประเมินสถานะอุตสาหกรรม การพัฒนาบุคลากร ที่ปรึกษาด้านการใช้เทคโนโลยี แหล่งทุน และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี พื้นที่ทดสอบการใช้งานเทคโนโลยี (Testbed) รวมถึงเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละโจทย์ของอุตสาหกรรมที่ต้องเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตไปสู่อุตสาหกรรม 4.0