เนคเทค-สวทช.ต้อนรับ “พิราบดิจิทัล รุ่นที่ 17” ประชันฝีมือเขียนข่าว ” AI กับวงการสื่อมวลชน”

Facebook
Twitter
nectec-pirab17

 

เรื่อง| วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์
ถ่ายภาพ | ปวีณา ครุฑธาพันธ์ , สายพิณ ธนะศิริวัฒนา

เนคเทค-สวทช.เปิดบ้านต้อนรับผู้ร่วมอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “พิราบดิจิทัล รุ่นที่ 17” จัดโดย ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ITPC) โครงการฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน 2563 ณ เนคเทค-สวทช. จ.ปทุมธานี

เนคเทค-สวทช. ร่วมสนับสนุนจัดโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การเสริมความรู้และจัดกิจกรรมฝึกอบรมและทักษะที่จำเป็นให้แก่นิสิต นักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่มีความสนใจในการนำเสนอข่าวสารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอย่างรวดเร็ว และก้าวเข้าสู่อาชีพนักข่าวสายไอทีรุ่นใหม่ในอนาคตต่อไป

ในโอกาสนี้ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค-สวทช. ร่วมต้อนรับนิสิต นักศึกษา และคณะสื่อมวลชน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมให้เกียรติกล่าวเปิดการอบรมฯ ความว่า “โลกที่มีข้อมูลมากมายและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สื่อมวลชนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้น สร้าง Story ที่โดดเด่นในประเด็นที่สนใจ พร้อมใช้จริยธรรมสื่อสรรค์สร้างเนื้อหาและความคิดใหม่ ๆ สู่สังคม”

nectec-pirab17

 

การอบรมฯ ในช่วงแรก น้อง ๆ ได้รู้จักกับเบื้องหลังการสร้าง Avatar นักข่าวปัญญาประดิษฐ์คนแรกของไทย “Sutthichai AI” พร้อมการบรรยายในหัวข้อ “AI กับงานด้านสื่อมวลชน” โดย ดร.อัษฎางค์ แตงไทย นักวิจัยทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ (STU) เนคเทค-สวทช.

nectec-pirab17

 

โดยน้อง ๆ จะได้นำเนื้อหาเหล่านี้ไปทดลองเขียนข่าวเพื่อชิงรางวัลในกิจกรรมของการอบรมฯ ซึ่งได้ประกาศผลไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ คุณอรรถกร ศิริสุวรรณ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ เนคเทค-สวทช. ให้เกียรติมอบรางวัล ดังนี้

ผลงานรางวัลชนะเลิศ
นายกิตติธัช วนิชผล (กันต์)
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
nectec-pirab17

 

น้องกิตติธัช บอกเล่าความรู้สึกเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ว่า “การเขียนข่าวเรื่องนี้มีทั้งความยากและง่ายของมันอยู่ครับ ความยากของข่าวนี้อยู่ที่เนื้อหาของตัว AI ที่จะนำเสนอนั้นมีศัพท์เฉพาะอยู่เยอะมาก ทำให้เวลาอ่านจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจพอสมควร อาจต้องมีการตกผลึกหรืออ่านเพิ่มก่อนนำมาเขียนข่าวจริง ส่วนความง่ายของข่าวนี้ เนื่องจากเป็นประเด็นนักข่าว AI ที่จะต้องใช้โมเดลจำลองของผู้ประกาศข่าว ปัจจุบันมีความใกล้ชิดกับคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น เมื่อลองเทียบกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เช่น animoji ของ ios ที่มีการขยับหน้าตาและท่าทางตามใบหน้าของเรา ก็จะเห็นได้ถึงความใกล้เคียงกันกับหลักการทำงานของ Facial and Gesture Animation ใน AI ที่ทาง NECTEC พัฒนาอยู่ครับ”

[คลิก] อ่านข่าวผลงานรางวัลชนะเลิศ

ผลงานรางวัล Popular Vote 2 รางวัล ได้แก่
(1) นางสาวแคทรีน นิติธรรมธาดากุล (ซิตี้)
คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
nectec-pirab17

 

น้องแคทรีน บอกเล่าความรู้สึกที่ได้รับรางวัลว่า “รู้สึกเป็นเกียรติมากค่ะที่ได้รับรางวัล ไม่คาดคิดเหมือนกันว่าจะได้ยอดไลก์สูง ทั้ง ๆ ที่มีเพื่อนได้คะแนนไล่เลี่ยกันมาก ๆ สำหรับหนูการเขียนข่าวเรื่องนี้ หนูคิดว่ายาก เพราะการจะเขียนข่าวเรื่องหนึ่งได้ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ต้องอ่านเยอะๆ และการจะเขียนข่าวที่ดีได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝน สำหรับเหตุผลที่ได้รางวัล popular vote อาจเป็นเพราะหนูเขียนแคปชันตลก และมีเพื่อนใน facebook จำนวนมาก เมื่อแชร์โพสต์ขอกำลังใจ ช่วยไลก์ จึงอาจทำให้หนูได้ popular vote ค่ะ”

[คลิก] อ่านข่าวผลงานรางวัล Popular Vote 1

2) นางสาวศวรรยา ลือชัย (ซอ)
คณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
nectec-pirab17

 

น้องศวรรยา กล่าวว่า “การเขียนข่าวนี้ค่อนข้างยากและมีศัพท์เทคนิคเยอะ คำไหนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนก็จะงง ๆ หน่อย แต่มีพี่ ๆ ให้ความช่วยเหลือตลอดค่ะ สำหรับเหตุผลที่ได้รับรางวัล Popular vote คิดว่าน่าจะเป็นการพาดหัวข่าวที่ทำให้คนสนใจ และได้เชิญชวนให้เพื่อน ๆ เข้ามาชมกิจกรรมในกลุ่มของค่าย คือ pirab@nectec พอเพื่อน ๆ เห็นว่าเป็นข่าวของเรา ก็เข้ามากดไลก์ให้กำลังใจกัน”

[คลิก] [คลิก] อ่านข่าวผลงานรางวัล Popular Vote 2

บทความที่เกี่ยวข้อง