แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 35 | ค.ศ. 1936 สำหรับการศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลด้วยโมเมนไดโพลและรังสีเอ็กซ์

Facebook
Twitter
nobelprizes-optics35

 

ผลงานที่ทาง Max von Laue (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1914) และพ่อลูกตระกูล Bragg (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1915) เกี่ยวกับการนำรังสีเอ็กซ์มาใช้ศึกษาโครงสร้างของอะตอมของคริสตัลนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการนำรังสีเอ็กซ์มาใช้ในงานวิจัยทางเคมีอย่างมากเลยทีเดียว

Peter Debye เป็นคนหนึ่งที่มีพื้นฐานทางฟิสิกส์และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้ศึกษาการนำรังสีเอ็กซ์มาใช้ศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลของแก๊สซึ่งมีโครงสร้างที่ไม่เป็นระเบียบเหมือนกับคริสตัล ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า Powder X-Ray Diffraction

x ray camera
โครงสร้างภายในของกล้องบันทึกภาพรังสีเอ็กซ์ (ภาพจาก https://www.musoptin.com/sale/debye _scherrer.html)

ทฤษฎีที่ Peter Debye ได้คิดขึ้นนั้นยังสามารถประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลภายใต้รังสีอิเล็กตรอนได้ด้วย ผลงานของเขาช่วยให้เกิดความเข้าใจทางด้านความสมมาตรของอนุภาคในโมเลกุลและพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมได้มากขึ้น นอกจากนี้เขายังได้ร่วมกับผู้ช่วยของเขา Paul Scherrer พัฒนากล้องสำหรับใช้บันทึกภาพการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ขึ้นมาอีกด้วย

x ray camera
กล้องบันทึกภาพรังสีเอ็กซ์ (ภาพจาก https://grdelin.phy.hr/~ivo/Nastava/StatistickaFizika/Dopunska_literatura/Osobe/debye.html)
x ray
ตัวอย่างลวดลายการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ผ่านกราไฟต์ ภาพจาก https://blog.oup.com/2016/09/x-ray-powder-diffraction-method/
ประวัติย่อ : Peter Debye
Peter Debye
Peter Debye

Peter Debye เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1884 ที่เมือง Maastricht เนเธอร์แลนด์ เขาจบการศึกษาทางเทคโนโลยีไฟฟ้าในปี ค.ศ. 1905 จาก Acachen Institute of Technology และเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยทางเทคนิคที่ Acachen Technological Institute เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นได้ย้ายไปทำงานที่ University of Munich ในตำแหน่งเดียวกัน เขาใช้เวลาที่นี่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจนจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1908 และ ปี ค.ศ. 1910 ได้รับการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ช่วงชีวิตการทำงานได้เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ทฤษฎีที่ Zurich University, Utrecht University, University of Berlin และ University of Göttingen เขายังเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Max Planck Institute of the Kaiser Wilhelm Institute for Physics ในปี ค.ศ. 1940 ได้ย้ายไปเป็นศาสตราจารย์ทางเคมีที่ Cornell University ที่สหรัฐฯ

แหล่งที่มา

  • Nobel Lectures in Chemistry 1922-1941, World Scientific Publishing, January 1999.
  • https://nobelprize.org, accessed Feb 2019.
  • https://en.wikipedia.org, accessed Feb 2019.
  • ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร, โฟโทนิกส์ มหัศจรรย์แห่งแสง, นานมีบุ๊คพับลิเคชัน, กรุงเทพฯ, กุมภาพันธ์ 2549.

บทความที่เกี่ยวข้อง