โครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” เป็นโครงการที่เนคเทคดำเนินการเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศที่สนใจการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งโครงการที่พัฒนาด้วยตนเองเข้าร่วมการแข่งขัน โดยเนคเทคได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานการแข่งขันในระดับภูมิภาค คือ
- ภาคเหนือ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาคใต้: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ภาคตะวันออก: มหาวิทยาลัยบูรพา
- ภาคตะวันตก: มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ภาคกลาง: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับปีนี้ เนคเทคยังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมยกระดับผลงานให้ไปสู่กลุ่มผู้ใช้งานจริงทั้งในระดับชุมชน ภาคสังคม และเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนทุนพัฒนาต่อยอดผลงาน พร้อมจัดหาหน่วยงานสนับสนุนเพื่อร่วมเป็นที่ปรึกษาให้เยาวชนได้ผลิตผลงานจนสามารถใช้งานได้จริงต่อไป
จึงขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้พัฒนาที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ “ทีมละไม่เกิน 3 คน” เข้าร่วมสมัครการแข่งขัน เพื่อสรรหาสุดยอดโปรแกรมเมอร์ของประเทศไทย ในโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20” (National Software Contest 2018) เพื่อยกระดับผลงานซอฟต์แวร์ของไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล
หัวข้อการแข่งขัน
- ระดับนิสิต นักศึกษา
- หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
- หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้
- หมวด 13 โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ
- หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- หมวด 15 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile Application)
- ระดับนักเรียน
- หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
- หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้
- หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
- หัวข้อพิเศษ
- หมวด 31 โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกเอกสารภาษาไทย (Thai Plagiarism Detection)
- หมวด 32 BEST 2018: โปรแกรมนับจำนวนคน (Human Detection)
- หมวด 33 Internet of Things (IoT)
- หมวด 34 การแข่งขันสุดยอดโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI)
คุณสมบัติผู้สมัคร
- เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาครัฐ และเอกชน โดยไม่จำกัดชั้นปี และมีอาจารย์พร้อมหัวหน้าสถาบันการศึกษาให้การรับรอง
- ส่งข้อเสนอโครงการได้เพียงคนละ 1 โครงการ และ 1 ประเภท เท่านั้น โดย 1 โครงการ มีทีมพัฒนาได้ไม่เกิน 3 คน
- เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ ในลักษณะที่มีความคิดริเริ่มเป็นของตนเอง ห้ามทำซ้ำ และลอกเลียนแบบผู้อื่น
- เฉพาะหมวด 31 โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกเอกสารภาษาไทย (Thai Plagiarism Detection) และหมวด 32 BEST 2018: โปรแกรมนับจำนวนคน (Human Detection) เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไป
กำหนดการแข่งขัน
- ส่งข้อเสนอโครงการ (รอบแรก) 1 สิงหาคม – 30 กันยายน2560
- ประกาศผลข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณา 1 พฤศจิกายน 2560
- ระยะเวลาพัฒนาซอฟต์แวร์ 1 พฤศจิกายน 2560 – 31 มกราคม 2561
- กำหนดส่งมอบผลงาน (รอบสอง) 1 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศผลโครงการที่ผ่านการพิจารณาและโครงการที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 23 กุมภาพันธ์ 2561
- การประกวดรอบชิงชนะเลิศ สัปดาห์ที่ 2-3 เดือนมีนาคม 2561
เงินรางวัล
- รางวัลที่ 1
- – เงินรางวัล 60,000 บาท และถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เฉพาะประเภทนักเรียน และนิสิต นักศึกษา)
- รางวัลที่ 2
- – เงินรางวัล 40,000 บาท
- รางวัลที่ 3
- – เงินรางวัล 20,000 บาท
- รางวัลชมเชย
- – เงินรางวัล ประเภทละ 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท
- รางวัลพิเศษ “เฉพาะหมวด 33 Internet of Things”
- – หากมีการใช้งานบริการ NETPIE สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มอบรางวัลพิเศษอันดับ 1 เงินรางวัล 40,000 บาท อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท และอันดับ 3 เงินรางวัล 20,000 บาท
วิธีการสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
ลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านระบบ GENA โดยเลือก “ลงทะเบียนใหม่” เพื่อกรอกข้อมูลการสมัครเข้าแข่งขันที่ https://www.nectec.or.th/nsc/ หรือ https://www.nscthailand.net หรือ https://nsc.siit.tu.ac.th/GENA
ดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย (โครงการ NSC)
- หมายเลขโทรศัพท์ 0 2564 6900ต่อ 2325 – 2328
- e-mail: fits@nectec.or.th
- website: https://www.nectec.or.th/nsc/
- facebook: https://www.facebook.com/groups/NSCThailand/
วันที่เผยแพร่ 17 กรกฏาคม 2560 08:06