SAT ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเยี่ยมชมเนคเทค

Facebook
Twitter
visit31082019

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2562 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ให้การต้อนรับคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 14 คน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานเพื่อนำความรู้ เทคโนโลยี แนวคิดที่ได้รับจากการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ นำไปถ่ายทอดให้นักศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียน การสอน และการปฏิบัติงานประกอบวิชาชีพในอนาคตต่อไป

visit31082019

โดยมีผลงานวิจัยมานำเสนอดังต่อไปนี้

visit31082019
1. ผลงานเรื่อง “AI Technology”
โดย คุณชัชวาล สังคีตตระการ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligenceคือ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางด้านปัญญาที่จะมาช่วยให้มนุษย์อย่างเราๆ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างหุ่นยนต์ให้มาทำงานได้เหมือนคนจริงๆ หรือ จะใส่เทคโนโลยี AI ลงไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา รวมไปถึงการเลือกแนวทางการดำเนินการในลักษณะที่คล้ายมนุษย์นั่นเอง

visit31082019
2. ผลงานเรื่อง “OPEN-D : ข้อมูลเปิดสำหรับชุมชน”
โดย ดร.มารุต บูรณรัช นักวิจัยอาวุโส
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์

OPEN-D: ข้อมูลเปิดสำหรับชุมชน

คุณสมบัติที่สำคัญของข้อมูลแบบเปิด (Open Data)

  • Open License สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูล
  • Machine-readable Data ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้ง่าย

ประโยชน์ของ Open-D

  • ข้อมูลเปิดที่มีคุณภาพ (Data Quality)
    • ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้เท่านั้น
  • ข้อมูลเปิดที่เข้าถึงได้ง่าย (Data Accessibility)
    • ข้อมูลเข้าถึงและประมวลผลได้ผ่าน API
    • ข้อมูลวิเคราะห์และแสดงผลแบบ Data Visualization
  • หน่วยงานที่เปิดเผยข้อมูล สามารถสร้าง API ได้เองจากไฟล์ชุดข้อมูลเปิดที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
  • นักพัฒนา สามารถนำข้อมูลเปิดภาครัฐไปพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ได้สะดวกยิ่งขึ้นผ่าน API
  • นักวิจัย/นักวิเคราะห์์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างกราฟจากไฟล์ชุดข้อมูล โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมภายนอก
visit31082019
3. ผลงานเรื่อง “ระบบเครือข่ายสำหรับตรวจจับสภาวะแวดล้อมแบบไร้สายเพื่อการจัดการและการควบคุมระยะไกล (WiMarC)”
โดย ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัย
หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ

“ระบบเครือข่ายสำหรับตรวจจับสภาวะแวดล้อมแบบไร้สายเพื่อการจัดการและการควบคุมระยะไกล (WiMarC)”

หลักการทำงาน

  • ตรวจวัดและติดตามสถาพแวดล้อมเพื่อการเกษตรด้วยระบบเครือข่ายไร้สาย บน Platform IoT ที่พัฒนาโดย NECTEC
  • ผู้ใช้สามารถตรวจวัดค่าความชื้นดิน ความชื้นอากาศ อุณหภูมิอากาศ ความเข้มแสง ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลมและทิศทางลม
  • ติดตามการเจริญเติบโตของพืชผ่านกล้องวงจรปิด
  • ติดตามข้อมูลสภาพแวดล้อมปัจจุบันและย้อนหลังผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application)
  • ใช้ได้ทั้งระบบแปลงเปิดและแปลงปิด