ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA)

Facebook
Twitter

เทคโนโลยีสำคัญที่มีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีการคาดการณ์อนาคตที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจำเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลปริมาณมากและมีความถูกต้องสูง ประเทศไทยเองมีข้อมูลที่ได้จากภาครัฐและแหล่งสาธารณะมีปริมาณไม่น้อย แต่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีความถูกต้องพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านพื้นที่ (GeoSpatial) และข้อมูลด้านเครือข่าย (Social Network)

นอกจากนี้เทคโนโลยีด้าน cloud ก็มีส่วนอย่างมากที่ช่วยสนับสนุนและรองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยเฉพาะในกรณีที่ขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลระบบและทรัพยากรเครื่อง server ทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ คุ้มการลงทุนและมีความน่าเชื่อถือสูง ระบบการจัดการข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและการเรียนรู้จากข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์บน Cloud จึงเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยและส่งผลต่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนของประเทศ

ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีทีมวิจัยที่จะมาจัดการชั้นข้อมูลปริมาณมหาศาล ให้พร้อมใช้งาน ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในมิติต่างๆ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและแอปพิเคชั่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในการกำหนดแนวทางและนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรองรับการเข้าใช้งานจากบุคคลทั่วไปและสามารถขยายผลไปถึงความต้องการของภาคเอกชนได้

สารบัญ

วิสัยทัศน์

เป็นทีมวิจัยด้านการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ชั้นนำของประเทศ โดยเน้นด้านการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ และความมั่นคงเป็นต้น

พันธกิจ

  1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) เช่นการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Mining, Statistical Inference) และการแสดงผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Visual Analytics)
  2. สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการตามความต้องการของประเทศ

เทคโนโลยีหลัก

  • แบบจำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ด้วยวิธีการทาง Spatio-Temporal Data Analysis and Machine Learning
  • Earth Observation Data Processing and Applications
  • GIS Map Analysis & Visualization
  • Graph Network Analysis & Visualization

ผลงานเด่น

  • Agri-Map by What2Grow: ระบบซอฟต์แวร์ช่วยแนะนำพืชทดแทนที่ดีกว่าในพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่เหมาะสม ด้วยความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถเรียกใช้งานได้จากทั้งเวอร์ชั่น Online ( https://agri-map-online.moac.go.th ) และ Mobile (iOS & Android)
  • What2Grow: เทคโนโลยีบน Cloud ที่รองรับการแสดงผลข้อมูลเชิงแผนที่ ที่รองรับการแสดงผลข้อมูลเชิงแผนที่ขนาดใหญ่และมีปริมาณชั้นข้อมูลมาก เช่นด้านการเกษตรเช่นการใช้ที่ดิน ความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อแนะนำพืชเพาะปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่
  • IDA: Intelligence Data Link Analysis ระบบซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูลความมั่นคง ที่แสดงถึงกิจกรรมเชิงเครือข่ายของผู้กระทำความผิดและความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง สถานที่ และวัตถุพยานต่างๆ

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  1. ดร. นพดล คีรีเพ็ชร (นักวิจัยอาวุโส): Graph Mining, Geospatial Data Analytics
  2. จุฑารัตน์ คีรีเพ็ขร (นักวิจัย) : Datamining, Workflow Analytics
  3. วงษ์นเรศ ขันธุวาร (ผู้ช่วยนักวิจัย): Data Science, Network Analytics
  4. สรวัตร ประภานิติเสถียร (ผู้ช่วยนักวิจัย): Web Map Design, Cloud Engineer
  5. กิตติศักดิ์ สะอาดเอี่ยม (ผู้ช่วยนักวิจัย): Cloud Engineer, System Administration
  6. นรินทร์ ทิพยยางค์ (ผู้ช่วยนักวิจัย): GUI, Web Proramming
  7. ฐิติรัตน์ บุญช่วยชู (ผู้ช่วยนักวิจัย): Data preparation, Backend Programming
  8. กฤษณะ สุวรรณขจร (ผู้ช่วยนักวิจัย): System Administration, Programming
  9. รณชิต เสมามอญ (ผู้ช่วยนักวิจัย): GIS Data preparation and processing
  10. ทศวร งามเนตร (ผู้ช่วยนักวิจัย): GIS modeling, Data Analytics

ติดต่อ

ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
email : kea[at]nectec.or.th