การสืบทอด ในปัจจุบันนี้เกี่ยวกับเรื่องกลองเส็งหากจะหาดูทั่วๆไปนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เนื่องจากปัจจัยต่างๆนั้นไม่ได้อำนวยเหมือนอย่างสมัยก่อนๆอันได้แก่กระบวนการผลิตกลองก็น้อยลงเรื่อยๆ ส่วนมากจะปรากฏแต่กลองที่เคยทำและใช้มาหลายปีแล้ว เกี่ยวกับช่างกลองก็ชรามากหรือได้เสียชีวิตไปแล้ว คนในรุ่นนี้ไม่ค่อยสนใจและนิยมไปทำงานต่างถิ่นจำนวนมาก จึงไม่ค่อยมีคนในการสืบทอด
            การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การแข่งขันกลองเส็งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าดนตรีที่มีในอีสานนั้นส่วนมากจะจัดเข้าอยู่ในเครื่องดนตรีทั้ง ๔ จำพวก พวกกลองเส็งจะมีความแตกต่างอันเนื่องจากมีลักษณะที่โดดเด่นคือ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ เป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงเชิงการแข่งขัน จึงได้รับความสนใจจากท้องถิ่นต่างๆเป็นอย่างมากล
            ค่านิยม จากวิถีชีวิตของสังคมชาวอีสานจากอดีตมาถึงปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนในสิ่งต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมแนวใหม่ เช่น การเดินทางของคณะกลองเส็ง เมื่ออดีตจะใช้วิธีการให้คนหามกลองไปเป็นคู่ๆ เมื่อเทียบกับปัจจุบันก็คงไม่ทันต่อเหตุการณ์ จึงใช้รถยนต์เป็นพาหนะเดินทาง ซึ่งอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น การเตรียมเสบียงอาหารก็ไม่เป็นการยุ่งยาก เพราะในงานแข่งขันปัจจุบันร้านอาหารในงานแข่งขันก็อำนวยความสะดวกอยู่แล้ว
. ค่าตอบแทน แรงบันดาลใจของคนในสมัยก่อนนั้น เรื่องค่าตอบแทนเกี่ยวกับเงินตราไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ที่ยิ่งใหญ่ก็คือเรื่องของชื่อเสียง ความเป็นศักดิ์ศรีของแต่ละหมู่บ้านจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงผลงานและความสามารถอย่างแท้จริง

แหล่งที่มา : นายสุรวิทย์ ศรีพล




-------------------------------------------------------------------------
หน้าหลัก
| กลองเส็งสัญญาณรวมพลัง | ภูมิหลัง | การเส็งกลอง |
ขั้นตอนการทำกลองเส็ง | กลองเส็งกับการปรับเปลี่ยนทางสังคม |
กลองเส็งกับภูมิปัญญาชาวบ้าน | ความเชื่อเกี่ยวกับกลอง |
การเก็บรักษากลองเส็ง
| ประเพณีการเส็งกลอง | นิทานที่เกี่ยวข้อง |
โฉลกกลอง
| การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม | นิยามศัพท์เฉพาะ | แหล่งข้อมูล |
-------------------------------------------------------------------------