เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติ MobiiScan

Facebook
Twitter
MobiiScanเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับผู้ป่วยในท่านอน วิจัย พัฒนา และผลิตโดยศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
MobiiScan

 

MobiiScan

 

ในประเทศไทย สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากอาการเลือดออกในสมองและไม่ได้รับการรักษาอย่างทัน ท่วงที หลักสำคัญของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ความรวดเร็วในการ ตรวจวินิจฉัย การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะทำให้แพทย์ วินิจฉัยการบาดเจ็บ และให้การรักษาได้เหมาะสม แต่โรงพยาบาล ขนาดเล็กมักไม่มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สามารถแยก ผู้ป่วยเลือดออกในสมอง ออกจากผู้ป่วยอุบัติเหตุปกติได้ จึงต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่หนาแน่นมาก ด้วยเหตุนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ร่วมวิจัยและพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้และสามารถใช้ในขณะผ่าตัดได้ เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัย ในห้องฉุกเฉินและห้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มี ประสิทธิภาพและทันท่วงที

MobiiScan

 

เครื่องต้นแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อใช้ถ่ายอวัยวะภายในบริเวณศีรษะ สามารถใช้ในห้องผ่าตัดหรือห้องฉุกเฉิน จึงต้องมีล้อเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก แตกต่างของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Multi-Slice CT ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องอยู่ในห้องเฉพาะ

เครื่อง MobiiScan ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางด้านรังสีจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) เรียบร้อยแล้ว

จุดเด่นของเครื่อง MobiiScan

  • วางแผนการรักษาผู้ป่วยหรือเด็กที่มีผิดปกติบริเวณใบหน้า กะโหลกศีรษะและขากรรไกรใน
  • วินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ
  • วินิจฉัยอาการเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • วินิจฉัยและวางแผนการรักษาบริเวณมือและเท้า
  • สามารถใช้ในห้องผ่าตัด หรือ ห้องฉุกเฉินได้
  • สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
MobiiScan

 

หลักการทำงานของเครื่อง MobiiScan

หลักการทำงานของเครื่อง MobiiScan นั้น จะเป็นเทคนิค Cone-beam CT โดยใช้แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่มีลำแสงแบบทรงกรวย และฉากรับภาพรังสีแบบดิจิทัลชนิด แบนราบ (Flat Panel Detector) ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกัน อุปกรณ์ ทั้งสองจะหมุนไปพร้อมๆ กันรอบผู้ป่วย 1 รอบ เป็นเวลาไม่เกิน 18 วินาที เพื่อเก็บข้อมูลดิบในแต่ละมุมมอง จากนั้นนำข้อมูลดิบที่ได้ มาผ่านอัลกอริทึมในการสร้างภาพตัดขวาง (Image Reconstruction) เพื่อสร้างภาพตัดขวางแบบสามมิติบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้าของผู้ป่วย ภาพตัดขวางที่ได้จะถูกแสดงผลในมุมมอง สองมิติและสามมิติผ่านซอฟต์แวร์แสดงภาพ (Viewer Software) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลักการนี้ จะมีขนาดเครื่อง ที่เล็กกว่าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Multi-Slice CT มาก และผู้ป่วยจะได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำกว่า

คุณสมบัติของเครื่อง MobiiScan

Detector type
Amorphous Silicon Flui Panel
Detector size
30 cm x 40 cm
X-ray source
Pulsed
Tube voltage
90 kVp
Tube current
4-9 mA
Focal spot
0.5 mm
Scan time
12 sec (for bone)/18 sec (for brain)
Scan volume
Diameter 23 cm x Height 19 cm (Max.)
Voxel size
0.3-0.5 mm
Patient position
Supine

ความร่วมมือ

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สนใจผลิตภัณฑ์/ผลงาน

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี (BTT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
112 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-2354, 2357, 2382, 2383, 2399
อีเมล business[at]nectec.or.th