การเวียนขอข้อคิดเห็น ต่อ ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์ โสตทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 1 ทั่วไป และ บริภัณฑ์พิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับใช้ในสำนักงานหรือที่พักอาศัย – เฉพาะด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 4 ความผิดพร่องทางแม่เหล็กไฟฟ้า

ด้วย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีความร่วมมือด้านการมาตรฐานและเห็นสมควรกำหนด

  1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์ โสตทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 1 ทั่วไป
  2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์พิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับใช้ในสำนักงานหรือที่พักอาศัย – เฉพาะด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 4 ความผิดพร่องทางแม่เหล็กไฟฟ้า

บัดนี้ ศูนย์ฯ ได้จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และเห็นควรให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาในรายละเอียดของร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้ง 2 ฉบับ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการวิชาการพิจารณาให้ได้ข้อยุติต่อไป

หากท่านเห็นว่าร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้างต้นมีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับท่านและมีความประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โปรดส่งข้อคิดเห็นพร้อมกับรายละเอียดของท่านตาม แบบเสนอข้อคิดเห็น มาทางโทรสารหมายเลข 0-2564-6901..3, 02-564-6889  หรือ อีเมล thirajed.panpaprai@nectec.or.th ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2561 จักขอบคุณยิ่ง

 

ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์ โสตทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 1 ทั่วไป

2. ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์พิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับใช้ในสำนักงานหรือที่พักอาศัย – เฉพาะด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 4 ความผิดพร่องทางแม่เหล็กไฟฟ้า

3. แบบเสนอข้อคิดเห็น ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์ โสตทัศน์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 1 ทั่วไป 

4. แบบเสนอข้อคิดเห็น ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์พิมพ์แบบดิจิทัลสำหรับใช้ในสำนักงานหรือที่พักอาศัย – เฉพาะด้านความทนทานต่อสภาพแวดล้อม – เล่ม 4 ความผิดพร่องทางแม่เหล็กไฟฟ้า