หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
 
โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง
     
ดังศรสักปักซ้ำระกำทรวง เสียดายดวงจันทราพงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริยวงศ์ทรงพระนาม
จากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาท
จำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จโดยแดนแสนกันดาร
นมัสการรอยบาทพระศาสดา
วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า

 
 
บริเวณภายในวัดระฆังโฆสิตาราม
ตำหนักจันทร์หรือหอพระไตรปิฎก
ที่รัชกาลที่ 1 ทรงให้รื้อจากที่วัดบางหว้าใหญ่มาปลูกเพื่อให้เป็นหอพระไตรปิฎก
สาเหตุที่เรียกว่า ตำหนักจันทร์เพราะรัชกาลที่ 1 ทรงปลูกต้นจันทร์ไว้ในทิศทั้งแปด
สำหรับประวัติวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดและได้ทรงถวายหอพระไตรปิฎกและมีคนรียกกันว่าตำหนักจันทร์ และที่เรียกว่าวัดระฆังเพราะมีการขุดพบระฆังที่มีเสียงไพเราะที่วัดนี้ ในภายหลังรัชกาลที่1ได้ทรงขอระฆังเสียงดีลูกนี้ไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสร้างหอระฆังจัตุรมุขพร้อมระฆังอีก5ลูกพระราชทาน ไว้แทนเพราะเหตุนี้จึงได้ชื่อตามที่ประชาชนเรียกว่าวัดระฆัง