หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
 
คลองขวาง บางจาก สามเสน บางพลัด บางซื่อ บางซ่อน วัดโบสถ์(ตลาดแก้ว) ตลาดขวัญ
ปากเกร็ด บางพูด บางพัง วัดเทียนถวาย บางหลวง สามโคก วัดตำหนัก ทุ่งขวาง ราชคราม เกาะใหญ่
บางไทร ลีกุก เกาะเกิด บางปะอิน เกาะพระ เกาะเรียน ท่าเรือ คลองตะเคียน วัดธารมา คลองปทุม
วัดแม่นาง-ปลื้ม คลองหัวรอ บ่อโพง บางระกำ บ้านคุ้ง แม่ลา อรัญญิก บ้านขวาง ท่าเรือ บางโขมด
ตำบลบ่อโศก หนองคณฑี สระยอ วัดพระพุทธบาท เขาโพธิ์ลังกา ถ้ำประทุนคีรี ถ้ำกินนรี บ่อพรานล้างเนื้อ ถ้ำชาละวัน

 
 
สรุปผลการศึกษา

1. การศึกษาบทกลอนในเรื่องนิราศพระบาท จำแนกสถานที่ในการเดินทางของสุนทรภู่จากวัดระฆังโฆสิตาราม จ.กรุงเทพฯ ถึงพระพุทธบาท จ.สระบุรี รวม 46 แห่ง ดังนี้ คลองขวาง บางจาก สามเสน บางพลัด บางซื่อ บางซ่อน วัดโบสถ์(ตลาดแก้ว) ตลาดขวัญ ปากเกร็ด บางพูด บางพัง วัดเทียนถวาย บางหลวง สามโคก วัดตำหนัก ทุ่งขวาง ราชคราม เกาะใหญ่ บางไทร ลีกุก เกาะเกิด บางปะอิน เกาะพระ เกาะเรียน ท่าเรือ คลองตะเคียน วัดธารมา คลองปทุม วัดแม่นาง-ปลื้ม คลองหัวรอ บ่อโพง บางระกำ บ้านคุ้ง แม่ลา อรัญญิก บ้านขวาง ท่าเรือ บางโขมด ตำบลบ่อโศก หนองคณฑี สระยอ วัดพระพุทธบาท เขาโพธิ์ลังกา ถ้ำประทุนคีรี ถ้ำกินนรี บ่อพรานล้างเนื้อ ถ้ำชาละวัน

ปรากฏสถานที่42แห่งที่สืบค้นข้อมูลได้ทราบ ประวัติ ที่ตั้ง สภาพปัจจุบันแต่สถานที่สองแห่งไม่สามารถหาข้อมูลได้แน่ชัดดังนี้
     
                - ถ้ำกินนร ถ้ำชาลวัน ที่พระพุทธบาทไม่ปรากฏข้อมูล
                - ตลาดแก้ว ไม่ปรากฏหลักฐานข้อมูลที่ชัดเจน แต่มีการสันนิษฐานจากชาวบ้านหลายท่าน และจากการสัมภาษณ์อิหม่ามสนั่น มิสกิจมัสยิดรี่ยาดิ๊สสุนัน (ตลาดแก้ว) กล่าวว่า” ตลาดแก้วตั้งอยู่ริมฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนพิบูลสงคราม ซอยบุรีรังสฤษดิ์(วัดปากน้ำ)หมู่9 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
                - บ่อโศก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสร่างโศก เพราะชาวบ้านเชื่อว่าชื่อไม่เป็นมงคล

2. สุนทรภู่กล่าวถึงวัดในขณะเดินทางทั้งหมด 6 แห่งดังนี้

           2.1 วัดโบสถ์ ตลาดแก้ว ไม่ปรากฏหลักฐานแต่ชาวบ้านให้ข้อคิดเห็น ทรรศนะดังนี้ - “ เป็นวัดเก่าใกล้วัดค้างคาว ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว “
- “ คำว่าวัดโบสถ์ หมายถึงบริเวณที่กล่าวมีวัดจำนวนมากสุนทรภู่น่าจะพูดโดยรวมว่าเห็นวัดและโบสถ์มากมาย “
          
           2.2 วัดเทียนถวาย เป็นวัดเก่าแก่ อายุ 661ปี อยู่ที่ อำเภอบ้านใหม่ จ.ปทุมธานี มีโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างโดย พระเจ้าอู่ทอง ปรากฏหลักฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดป่าเลไลก์ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นผู้สร้าง
          
           2.3 วัดตำหนัก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ได้รับขนานนามว่า วัดแพพะแต๊ะ โดยพวกมอญที่อพยพมาจากเมะตามะ 
ที่วัดตำหนักที่ข้อมูลบางแห่งขัดแย้งกับเอกสารที่ที่ค้นพบเช่น
กล่าวว่า ที่ชื่อวัดตำหนักเพราะรัชกาลที่ 3 เสด็จมาประทับระหว่างเดินทาง และได้
สร้างพลับพลาระหว่างพักจึงได้ชื่อว่าวัดตำหนักแต่สุนทรภู่กล่าวถึงวัดตำหนักระหว่างเดินทางซึ่งเดินทางในสมัยรัชกาลที่1

           2.4 วัดธารมา ปัจจุบันชื่อวัดธรรมาราม สร้างมาไม่น้อยกว่า414ปี พม่าเคยมาตั้งค่ายที่วัดนี้ และปรากฏบุคลสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดธารมาคือพระอุบาลีมหาเถระ และพระอริยะมุนี้มหาเถระได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา
                  - วัดธารมาตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตำบลบ้านป้อม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
          2.5 วัดแม่นางปลื้ม อยู่ที่ตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          
          2.6 วัดพระพุทธบาท อยู่ที่ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีอายุ379ปี มีรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานที่วัดนี้

          2.7 วัดระฆังโฆสิดาราม ถึงแม้สุนทรภู่ไม่ได้กล่าวถึงในบทกลอนแต่ในประวัติสุนทรภู่มีความผูกพันธ์กับวัดนี้ เนื่องด้วยเป็นวัดที่พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ทรงผนวชและจำพรรษา การเดินทางของสุนทรภู่จึงเริ่มจากวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นแห่งแรก

3. สุนทรภู่บันทึกรายละเอียดที่ปรากฏในวัดพระพุทธบาทได้ชัดเจนละเอียดและถูกต้องซึ่งปัจจุบันมีปรากฏอยู่จริงดังนี้
          - ร่มโพธิ์ / พิกุล
          - ยักษ์ 2 ตน เฝ้าประตูทางเข้า
          - บันไดนาค
          - รูปดาบส
          - สิงโตต้น 2 ตัว
          - ฐานมณฑป
          - เสามณฑปล้อมด้วยกระจก
          - รูปบัวหงายปลายเสามณฑป
          - ใบโพธิ์ ( ห้อยรอบมณฑป )
          - หน้าบ้านเหนือประตูพระมณฑป
          - บานประตูมุข
          - มณฑปน้อย
          - เขาโพธิ์ลังกา
          - ถ้ำประทุนคีรี
          - บ่อพรานล้างเนื้อ


4. ค้นพบคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ มีการเล่นคำ เล่นอักษร เล่นสัมผัส ซึ่งเป็นต้นแบบของสุนทรภู่และเป็นกลอนยอดนิยมในปัจจุบันดังนี้
 
“ ถึงบางซื่อซื่อบางนี้สุจริต เหมือนซื่อจิตที่ตรงจำนงสมร 
มิตรจิตขอให้มิตรใจจรี่ ใจสมรขอให้ซื่อเหมือนชื่อบาง ” 

 
“ เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคราญครัน
ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล ”
   
“ โอ้กระแสแดวเดียวทีเดียวหนอ มาเกิดก่อเกาะถนัดสะกัดหน้า
ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา นี้หรือคนจะมิน่าเป็นสองใจ “
   
“ อนิจจาธานินทร์สิ้นกษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสนฑ์
แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง “
   
“ ถึงแม่ลาเมื่อเรามาก็ลาแม่ แม่จะแลแลหาไม่เห็นหาย
จะถามข่าวเช้าเย็นไม่เว้นวาย แต่เจ้าสายสุดใจมิได้มา “
 
5. มีความรู้ความเข้าใจในทรรศนะจากบุคคลต่างๆที่มีต่อสุนทรภู่อย่างหลากหลายเช่น

           - คุณลุงบรรจง สุทธิเสวรรณี อายุ 85 ปี
               “ ท่านเป็นผู้ที่เก่งด้านกวี เป็นต้นแบบของบทกลอนเช่นนิราศพระแท่นคงรัง “

          - คุณมาลี ดวงวิเชียร
               “ สุนทรภู่บรรยายพระพุทธบาทได้งดงามมากและบรรยายอย่างละเอียดและเห็นภาพจินตนาการได้ตามที่แต่ง “

          - คุณประสิทธิ์ ปานย้อย อายุ 73 ปี
               “ สุนทรภู่กล่าวถึงวัดเทียนถวายไว้ 2 ตอนจำได้ว่ากล่าวว่า
               “ ถึงวัดเทียนถวายบ้านใหม่ข้าม “

          - คุณอำพล นักสนธุ์
               “ รู้จักสุนทรภู่ เพราะได้เรียนงามประพันธ์ของท่าน ชอบงามประพันธ์ของท่านพระเพราะมีความไพเราะ “

          - พระครูวิมลธรรมธารีผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดนิเวศธรรมประวัติ
                “ ทราบเรื่องราวของท่านจากการอ่านหนังสือ เป็นกวีเอกของประเทศ เราได้รับมรดกจากท่านไว้เยอะ เป็นสิ่งที่เยาวชนรุ่นหลังควรศึกษางานประพันธ์ของท่านเป็นแม่แบบของไทยบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของไทยเรา เป็นเรื่องน่ายินดีที่สุนทรภู่ได้กล่าวถึงบางปะอินไว้ในงานประพันธ์ของท่าน”

          - พระมนูญ อุตมธรรมโม วัดบางพัง
               “ ตอนที่เป็นฆราวาสมีการพูดถึงสุนทรภู่เป็น 1 ใน10 ของกวีโลกมีความโดดเด่นเรื่องภาษา และวิสัยทัศน์ ถ้าไม่เก่งจริงสหประชาชาติคงไม่ยกย่อง แต่เราประชา-สัมพันธ์น้อย น่าจะได้รับการยกย่องมากว่า 50 ปีมาแล้ว”