หัวข้อ : พลังแห่งการศึกษาดิจิทัล (Power of Digital Education)
ห้องสัมมนา
: meeting room 3
เวลา : 10.30 – 12.00

เนื้อหาโดยย่อ

ภายใต้ยุคไทยแลนด์ 4.0 การศึกษาไทยก็กำลังก้าวเข้าสู่ดิจิทัลเช่นกัน ปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย หลายแห่งที่มีการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา เข้ามาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน เมื่อปี 2558  สวทช. ได้ริเริ่มโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปี 2560 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้ริเริ่มโครงการระบบการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน ผลลัพธ์ของโครงการเกิดระบบบริการการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Courses) หรือ MOOC ระดับชาติ สนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์รองรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผลการเปิดให้บริการการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่งผลให้เห็นข้อมูลการใช้งานในเชิงลึกซึ่งสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้เรียนและศักยภาพของระบบ ในขณะที่การศึกษาได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ประสบการณ์ของหน่วยงานการศึกษาที่ได้เปิดระบบให้บริการการศึกษาแบบออนไลน์นี้ จะเป็นเนื้อหาสำคัญในการวางแผน ออกแบบ และปรับปรุงระบบและกระบวนการให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ กับสังคมไทยยิ่งขึ้น การเสวนานี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสร้างระบบและให้บริการการศึกษาออนไลน์มาร่วมอภิปราย ถ่ายทอดประสบการณ์ และชี้แนะแนวทางของการจัดการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไป

ร่วมเสวนาโดย

  1. รศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
    รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา
    คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ
    อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
    AIT (Asian Institute of Technology)
  3. ดร.วรสรวง ดวงจินดา
    ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  4. รศ.ดร. อติวงศ์ สุชาโต
    อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการ โดย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

 

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย  นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้กล่าวในช่วงแรกไว้ว่าปัจจุบันเราต้องเจอกับ Disruptive Technology ต่าง ๆ และในด้านการศึกษาก็มี disruptive education ด้วย McKinsey & Co ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนในศตวรรษที่ 21 จะมีลักษณะความเป็น  personalized learning ซึ่งประกอบไปด้วย self-directed,  relevant,  Journey focused  และ Strength based  มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) เช่น ออกแบบตามหลัก cognitive science มีการใช้ Evidence based เป็นต้น และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ต้องการ มีการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเป็นสังคมมากขึ้น

ผศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี  รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่านิยามของ digital education คือ

  • ทำให้เกิดการสื่อสารความรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นสื่อที่มาจากผู้เผยแพร่หลายแหล่ง (Variety of learning resources.)
  • ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่ (Ubiquitous learning; learning at any place any time)
  • แก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง/เฉพาะบุคคล (On-demand and personalized learning)
  • ระบบการศึกษายืดหยุ่นมากขึ้น การเชื่อมโยงในระบบ/ นอกระบบเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา (Mix and blended between education system)
  • สร้างโอกาสเข้าถึง/แลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน (People are connected)
  • สามารถประเมินผู้เรียนได้อย่างแท้จริงสามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลาย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้

ดร. อติวงศ์ สุชาโต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีกับค่านิยม Digital Technology พลังแห่งการขับเคลื่อนด้วยวิศวกรรม หรือพฤติกรรมของคน

  • เทคโนโลยี / วัฒนธรรม / ค่านิยม เป็นพลังขับเคลื่อนให้โลกดำเนินไปพร้อมๆ กัน ดำเนินไปตามธรรมชาติ
  • เทคโนโลยีปัจจุบัน เข้ามา break through communication เทคโนโลยีทำให้ cost ต่างๆมันถูกลง เช่น ค่า Internet ทึ่ถูกลงมาก ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น
  • นอกจากนี้ความก้าวหน้าของ Digital Technology เช่น web, HTML5 ทำให้การเรียนรู้มีสิ่งที่น่าสนใจ
  • เทคโนโลยีทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connected) เข้ามาเติมเต็มช่องว่าง

รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นในแง่ผู้ใช้งานว่า

  • Digital Education ทำให้เข้าถึงการเรียนสามารถทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก  
  • Digital Education โอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้ รวมไปถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ทราบว่านักเรียนมีความสามารถในระดับใด ระบบสามารถที่จะปรับเปลี่ยนในการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับการเรียนของแต่ละคนได้ เช่น บางคนอาจชอบที่จะเรียนทฤษฎีให้เข้าใจก่อนแล้วจึงทำตามตัวอย่างขณะที่บางคนจะชอบดูตัวอย่างควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี
  • กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียน (Personalized)
  • Learning/Learner Analytics Personalized & Adoptive Learning
  • Learning/Learner Analytics วิเคราะห์ประวัติการเรียน > วิเคราะห์ผลการเรียน > วิเคราะห์พฤติกรรม > พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
  • Paganized & Adaptive Learning

ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้กล่าวเสริมว่าการเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำให้เราสามารถเรียนในเวลาที่ชอบและพบปะกับผู้คนได้หลากหลายมากขึ้น 

Digital Education ให้อะไรในสิ่งที่ Education สมัยก่อนทำไม่ได้

  • Education revolution
  • Readiness            
  • Diversity                              
  • Options
  • Freedom of voice (กล้าแสดงความคิดเห็น)
  • Cost – based opportunities
  • Languages & skills
  • globalization

ผศ.ดร.อนุชัยฯ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Thai MOOC ซึ่งเป็นตลาดความรู้ ที่ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยกว่า 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาร่วมจัดทำรายวิชาได้ 140 รายวิชาแล้ว นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ J-MOOC ประเทศญี่ปุ่น และ K-MOOC ประเทศเกาหลี

ด้วย ดร.วรสรวงฯ  ได้กล่าวเสริมว่าได้มีการเปิด facebook thai academic เพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการทำ thai mooc และมีการแบ่งปันประสบการณ์ เช่น เครื่องมืออะไรเหมาะกับผู้เรียนอะไรบ้าง และมีการแนะนำให้ผู้สอนเข้าใจการสอนแบบที่มีผู้เรียนจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการสอนแบบเดิมมาใช้กับการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากเช่นนี้ได้

รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ยังได้แนะนำ Chula MOOC ที่พัฒนาด้วย platform courseville เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 โดย รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ได้นำเสนอคุณลักษณะของ Platform couseville ในด้านการจัดการเนื้อหาการสอน การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ด้วย

นอกจากนี้ ในช่วงท้ายของการเสวนา ยังได้กล่าวถึง ข้อดี-ข้อเสียของ Digital Education รวมไปถึง ข้อจำกัด แนวทางในการพัฒนาในอนาคต ดังนี้

ปัญหา/ข้อจำกัด

  • อาจารย์/ผู้สอน ยังไม่ชำนาญ ในการจัดการกับผู้เรียนจำนวนมากมหาศาลอย่างไร ผู้สอนต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่ ๆ
  • ผู้สอนต้องเข้าใจว่า Technology ไหนเหมาะสมกับผู้เรียนของตน
  • ผู้สอน ต้องการ support อะไรเพิ่มบ้าง ผู้พัฒนา Thai MOOC จะต้องให้การ support โดยปัจจัยพื้นฐาน เช่น e-mail, YouTube

ความท้าทาย

  • แรงจูงใจและการกระตุ้นการเรียนรู้
  • การพิสูจน์ตัวตน
  • การผลิต content ที่มีคุณภาพ
  • น่าสนใจ ดึงดูด สอดคล้องเป้าหมาย
  • ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ, เวลา, ทรัพยากร

ข้อดี

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย, สถานที่, การเดินทาง    
  • ลดปัญหาการจัดการตารางเวลาผู้สอน/ผู้เรียน  
  • ใช้สอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนผู้สอน        

คำแนะนำในการพัฒนาต่อไป

  • ปัจจุบันค่อนข้างขาดแคลน Programmer
  • Platform, content เริ่มมีการพัฒนาดีขึ้นแล้ว แต่การทำ e-Portfolio ยังติดเงื่อนไขว่าจะทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
  • แรงบัลดาลใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-motivation) ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องสร้างแรงกระตุ้น จะทำอย่างไรให้คนใฝ่รู้ ให้สนใจแหล่งความรู้มีความใฝ่รู้
ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)