หัวข้อ : Dynamic Data Driven Application Systems (DDDAS) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในยุค Big Data
ห้องสัมนา : Meeting room 2
เวลา : 14.45 – 16.15 น.

ภาพรวมสถาปัตยกรรมของ Dynamic Data-Driven Application Systems (DDDAS)

Dynamic Data-Driven Application Systems (DDDAS) เป็นระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่ขับเคลื่อนด้วย "ข้อมูล" แบบพลวัตร มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ แหล่งข้อมูล (Data Sources) แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data Platform) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดยมีการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง จากแหล่งข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มฯ และระบบสนับสนุนฯ และย้อนกลับ

ร่วมเสวนาสถาปัตยกรรมและศักยภาพของ DDDAS ในการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการแก้ไขปัญหาและการวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการคาดการณ์ผลกระทบของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติในยุค Big Data แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และอัพเดทเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อน DDDAS อันได้แก่ ระบบการจัดหาข้อมูล แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

กำหนดการย่อย

14:30-14:45 น. ลงทะเบียน

14:45-15.10 น.
การบรรยายหัวข้อ “หุ่นยนต์สำหรับสำรวจข้อมูลทางอุทกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม”

โดย ผศ.ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

15.10-15.35 น.
การบรรยายหัวข้อ “BigStream: แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์”

โดย คุณคำรณ อรุณเรื่อ
ผู้ช่วยวิจัย ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

15.35-16.00 น.
การบรรยายหัวข้อ “Model-driven and data-driven DSS สำหรับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่”

โดย ดร. ศิโรจน์ ศิริทรัพย์
นักวิจัย ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินรายการ โดย

นายสุริยะ อุรุเอกโอฬาร
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ห้องปฎิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

การเสวนานี้ได้แนะนำและนำเสนอศักยภาพของระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่ขับเคลื่อนด้วย "ข้อมูล" แบบพลวัตร (Dynamic Data-Driven Application Systems: DDDAS) ที่มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ แหล่งข้อมูล (Data Sources) แพลตฟอร์มข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data Platform) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดยมีการปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง จากแหล่งข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มฯและระบบสนับสนุนฯ และย้อนกลับ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา การวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และการคาดการณ์ผลกระทบของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ดังนี้

  1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) โดย ดร.ศิโรจน์ ศิริทรัพย์ บรรยายถึงหลักการและความสำคัญของ DSS ประกอบด้วย (1) Early Warning System (2) Forecasting Systems และ (3) Scenarios-Based/Optimization System ภายใต้ความสำคัญของข้อมูล คือ ข้อมูลที่ดีนำไปสู่แบบจำลองที่ดีด้วย
  2. หุ่นยนต์สำหรับสำรวจข้อมูลทางอุทกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดย ผศ.ดร.ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ แนะนำถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเก็บข้อมูลซึ่งมีทั้งจากภาคสนามและโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แนะนำ ได้แก่ เทคโนโลยีและเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ เทคโนโลยีและเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมทางอากาศ และเซ็นเซอร์ทางภาคพื้นดิน เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับ DDDAS ได้เป็นอย่างดี
  3. แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดย คุณคำรณ อรุณเรื่อ บรรยายถึงความสำคัญและศักยภาพของ Data-Driven Platform สำหรับเป็นสื่อกลางในการวิเคราะห์ข้อมูล หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งในที่นี้คือ BigStream มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ (1) Multi-purpose Stream Storage (2) NoSQL Database (Batch, Real-Time) และ (3) Feature (Large-Scale Data Store (Billions Records Per Storage), Fast Read/Write, Fast Access, Light Weight & Portable, Various Data Types)

ทั้งนี้ มีตัวอย่างผลงานสำคัญที่ผ่านมา ได้แก่ TanPibut (ทันพิบัติ), TanRabad (ทันระบาด), RakNam (รักษ์น้ำ) และ TanBumbud (ทันบำบัด) เป็นต้น

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Part 3


Watch more on Youtube