Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


โครงสร้างของเชื้อรา
           โครงสร้างของเราได้มีการศึกษากันน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
     แบคทีเรียและไวรัส
           จากการศึกษาโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของราด้วยวิธีการต่าง ๆ
    พบว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ หลายชนิด ดังนี้

          1. ผนังเซลล์
                ผนังเซลของราเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาจะมีลักษณะ
                เป็นชั้นเดียว แต่เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กโทนตรอน จะมีลักษณะ
                หนาเป็นชั้น ๆ แยกออกจากกันได้ชัดเจน ผนังเซล นอกจากจะ
                ห่อหุ้มป้องกันเซลล์แล้วยังทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
โครงสร้างของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา
2.  เซลเมมเบรน
     เซลเมมเบรนทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนของโปรโตปลาสซึม
     จะมีสองชั้น (lipid bilayer) แต่ละชั้นประกอบด้วย
     ส่วนหัว (head) และหาง (tail) โดยหันส่วนหางซึ่งเป็น
     hydrophilic จะอยู่ด้านนอก มีโปรตีนและไกลโคโปรตีน
      แทรกอยู่ในระหว่างชั้น โดยเซลเมมเบรนจะมีลักษณะโป่ง
      ยื่นเข้ามาในเซล จนแบ่งออกเป็นผนังเซลของแอสโคสปอร์

                 3.  เอนโดพลาสมิค เรติคูลัม
            มีลักษณะเหมือนกับเอนโดพลาสมิค เรดิคูลัม ในพืชชั้นสูง
            แต่ไม่ได้มีอยู่ในทุกเซลของเชื้อรา จะมีอยู่ในบางเซ็กเม้นท์
            เท่านั้น

                 4.  ไมโตคอนเดรีย
           ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซล มีขนาดและรูปร่าง
           แตกต่างกันออกไป ในเชื้อรา ไมโตคอนเดรียรูปร่างเป็น
           filamentous คือ ยาว ผอม แต่ในยีสต์ ไมโตคอนเดรีย
           มีรูปร่างค่อนข้างกลม

                 5.  ไรโบโซม
            ไรโบโซมที่พบในเชื้อรามีสองชนิดคือ ไรโบโซมในไซโตปลาสซึม
            มีขนาด 80 s ประกอบด้วยสองหน่วยย่อย ได้แก่ หน่วยย่อย 60 s
            และ 40 s ส่วนไรโบโซมที่พบในไมโคคอนเดรีย มีขนาด 70 s
            ประกอบด้วยสองหน่วยย่อย ได้แก่ หน่วยย่อย 50s และ 30 s

       
โครงสร้างของเชื้อรา

โครงสร้างของเชื้อรา

         6. แวคคูโอล
แวคคูโอลมีผนังเป็นเมมเบรนชั้นเดียว เรียกว่า tonoplast ภายในมีเม็ดสี
(pigment) ต่าง ๆ ในแวคคูโอล มักประกอบด้วยไกลโคเจนซึ่งเป็น
อาหารสะสม ในขณะที่มีการแบ่งเซล แวคคูโอลจะแบ่งตัว จึงมีขนาดเล็ก
ที่จะลอดผ่าน septal pore โดยไปพร้อมกับการไหลของ
cytoplasmic streaming

        7. นิวเคลียส
มีขนาดเล็กประมาณ 0.5 % เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดไซโตปลาสซึม
ถ้าดูด้วยกล้อง phase contrast จะเห็นตรงกลางเข้ม
บริเวณรอบนอกสีจาง ส่วนเซนโตรโซมหรือเซนตริโอลจะพบได้น้อยมาก
ในเซลธรรมดา แต่จะพบมากในสปอร์แรนเจียม หรือในแอสคัส