สัณฐานวิทยา
 
Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B



สัณฐานวิทยา

              เชื้อรามีรูปร่างได้หลายแบบ มีทั้งเป็น
     -  
แบบเซลเดียว (unicellular)
     -  หลายเซล (multicellular)

               พวกเซลเดียว คือ พวกยีสต์ สืบพันธุ์โดยการ
         แตกหน่อ (budding) ส่วนพวกหลายเซล คือ
         พวกรา รูปร่างเป็น filamentous
         มีทั้งแบบเส้นใย หรือไม่มีผนังกั้น

แบบเส้นใย หรือไม่มีผนังกั้น
           dimorphic fungi

         ราบางชนิดมีรูปร่างได้ 2 แบบ เรียกว่า dimorphic
   fungi ถ้าเจริญเติบโต ตามพื้นดินมีรูปร่างเป็นแบบ
   filamentous fungi แต่ถ้าไปเจริญเป็นปาราซิต
   ของคนหรือสัตว์ จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบยีสต์  เช่น
    เชื้อที่ทำให้เกิดกลาก เกลื้อน เชื้อโรคผิวหนังหลายชนิด

               ลักษณะที่เหมือนและคล้ายกันของเชื้อรา
      1. อาจมีเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ แต่ส่วนใหญ่เป็นพวกหลายเซลล์
      
       2. พวกหลายเซลล์ ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะ
            เป็นเส้นใย โดยเส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา
            (Hypha) ไฮพามักรวมกันเป็น กระจุกเรียกว่า
            ไมซีเลียม(mycelium) ไฮฟามีไรซอยด์ 
            ช่วยยึดเห็ดราให้ติดแน่นกับที่ และบางส่วนของ
           ไฮฟาทำหน้าที่สร้างสปอร์
              กลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะ
การสร้างสปอร์                3. โครงสร้างของเซลล์เป็นเซลล์แบบยูคาริโอต
      มีผนังเซลล์คล้ายพืช (มีองค์ประกอบเป็นเซลลูโลสและไคทิน)
      แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นสร้างอาหารเองไม่ได้
      ดำรงชีวิตแบบปรสิตหรือแบบภาวะมีการย่อยสลาย
      หรือบางชนิดอยู่ร่วมกับสาหร่ายที่ต้องพึ่งพา(ไลเคน)

             4. ส่วนใหญ่สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์
       สปอร์มีทั้งที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
       และแบบอาศัยเพศ นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบ
       อื่น ๆ เช่น
           - รา ขนมปัง สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยวิธี
       คอนจูเกชัน
           -  ยีสต์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ